วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559






Thailand 4.0 คืออะไร ศัพท์ใหม่ที่คนไทยควรรู้
"Thailand 4.0 คือ วิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศไทย หรือ โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล  ภายใต้การนำของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช) ที่เข้ามาบริหารประเทศ บนวิสัยทัศน์ที่ว่า "มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน" ที่มีภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนปฏิรูป ประเทศด้านต้างๆ เพื่อปรับแก้ จัดระบบ ปรับทิศทาง และสร้างหนทางพัฒนาประเทศให้เจริญ สามารถรับมือกับโอกาสและภัยคุกคามแบบใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็ว รุนแรงในศตวรรษที่ 21 ได้ ....อ่านต่อhttp://www.drborworn.com/articledetail.asp?id=16223

ก่อนจะเข้าสู่ Thailand 4.0 ขอเกริ่นด้วย Thailand 1.0 Thailand 2.0 และ Thailand 3.0 ก่อน ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ล้วนเป็น “โมเดลการพัฒนาประเทศไทย” ถ้าใน Thailand 1.0 จะเน้นภาคเกษตร Thailand 2.0 เน้นภาคอุตสาหกรรมเบา และ Thailand 3.0 เน้นภาคอุตสาหกรรมหนักและการส่งออก
โมเดลพัฒนาประเทศไทยทั้ง 3 โมเดลที่ผ่านมา ทำให้ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศ “รายได้ปานกลางขั้นสูง” แต่ก็หยุดอยู่แค่นั้น ทำให้มีแนวคิด Thailand 4.0 ออกมา ซึ่งจะสามารถขับเคลื่อนประเทศให้ไปได้ไกลกว่านั้นเยอะ โดยโมเดลนี้เป็นแนวคิดที่จะนำโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “Value-Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม”
เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ได้แก่ 
1.เปลี่ยนจากการผลักดันสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม
2.เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์
3 .เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้าไปสู่การเน้น ภาคบริการมากขึ้น

องค์ประกอบของโมเดลการพัฒนาประเทศไทย Thailand 4.0 ได้แก่
1.เปลี่ยนจากเกษตรแบบดั้งเดิม สู่เกษตรสมัยใหม่ เน้นบริหารจัดการและเทคโนโลยี เตรียมปั้นเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการ ทั้งยังเป็นเกษตรกรที่มีฐานะร่ำรวย
2.เปลี่ยนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ที่มีภาครัฐคอยช่วยเหลือ เพื่อผลักดันสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูง
3.เปลี่ยนจาก Traditional Services ที่มีมูลค่าต่ำสู่ High Value Services
4.เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำ สู่แรงงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง
เป้าหมายที่ได้จากโมเดลนี้คือเปลี่ยนประเทศไทยที่จัดอยู่ในกลุ่มประเทศ “รายได้ปานกลางขั้นสูง” ให้กลายเป็นกลุ่ม “ประเทศที่มีรายได้สูง” ด้วยนวัตกรรมที่ช่วยยกระดับคุณภาพของเศรษฐกิจ จากกลไกต่างๆ เน้นไปทางการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้
5 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่
 1.กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ
 2.กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์
 3.กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกลที่ใช้อิเล็กทรอนิกส์ควบคุม
 4.กลุ่มดิจิตอล เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อและบังคับอุปกรณ์ต่างๆ ปัญญาประดิษฐ์และทคโนโลยีสมองกลฝังตัว
5.กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง
ข้อมูลโดย thairath.co.th
#ETDATHAILAND


โมเดลประเทศไทย 4.0 ประกอบด้วย “กลไกการขับเคลื่อน” ชุดใหม่ (New Growth Engine) 3 กลไกสำคัญ คือ 1. กลไกขับเคลื่อนผ่านการสร้างและยกระดับผลิตภาพ (Productive Growth Engine) 2. กลไกขับเคลื่อนที่คนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง (Inclusive Growth Engine) และ 3. กลไกการขับเคลื่อนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (Green Growth Engine)
ภายใต้ “โมเดลประเทศไทย 4.0” จำเป็นจะต้องมีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ จากเดิมที่มี “ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ” ให้มี “ความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน” เพื่อเปลี่ยนจากโครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรม “เพิ่มมูลค่า” ไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรม “สร้างมูลค่า” ซึ่งประกอบด้วย 5 กลุ่มหลักๆคือ
1. กลุ่มอุตสาหกรรมทางชีวภาพ
2. กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน 
3. กลุ่มอุตสาหกรรมด้านวิศวกรรมและการออกแบบ
4. กลุ่มอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับคุณภาพชีวิต 
และ5. กลุ่มอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ทั้ง 5 กลุ่มอุตสาหกรรมนี้ตั้งอยู่บนฐานของความได้เปรียบเชิง “ธรรมชาติ” และความได้เปรียบเชิง “วัฒนธรรม” ที่ประเทศไทยมีอยู่เดิม และต่อยอดด้วยการบริหารจัดการ องค์ความรู้สมัยใหม่ เทคโนโลยี มิเพียงเท่านั้น ทั้ง 5 กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่นี้ จะสอดรับกับพลวัตการเปลี่ยนแปลงในประชาคมโลก ที่กำลังค่อยๆ เปลี่ยนผ่านจากยุคของสังคมที่เน้น “องค์ความรู้” มาสู่ยุคของสังคมที่เน้นการยกระดับ “คุณภาพชีวิต” มากขึ้น
ในอดีตประเทศไทยมุ่งเน้นการสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญโดยขาดการพัฒนาในมิติอื่นให้มีความสอดคล้องกันโมเดลประเทศไทย 4.0 จึงเน้นการ “พัฒนาที่สมดุล” ใน 4 มิติ กล่าวคือ มีความสมดุลในความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ การรักษ์สิ่งแวดล้อม การมีสังคมที่อยู่ดีมีสุข และการเสริมสร้างภูมิปัญญามนุษย์ โดยการพัฒนาที่สมดุลตั้งอยู่บนฐานคิดของ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” หลักการสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีอยู่ว่า “เมื่อพร่อง ต้องรู้จักเติม เมื่อพอ ต้องรู้จักหยุด เมื่อเกินต้องรู้จักปัน”
ในระดับจุลภาคการ “รู้จักเติม รู้จักพอ รู้จักปัน” จะทำให้ประชาชนมีหลักประกันในด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม เกิดสังคมที่เกื้อกูลและแบ่งปัน ก่อให้เกิดการสร้างเสริมพลังทางสังคม และการสร้างความเป็นปึกแผ่นของคนในสังคมตามมา ในระดับมหภาค “การรู้จักเติม รู้จักพอ รู้จักปัน” จะทำให้ประเทศไทยสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงพลวัตโลก เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนเป็นการส่งเสริมให้เกิดการผนึกกำลังของทุกภาคส่วน การรู้จักเติม รู้จักพอ รู้จักปัน จึงเป็น “ระบบคุณค่าใหม่” ที่จะสามารถนำพาประเทศไทยไปสู่ความมั่งคั่ง ความมั่นคง และความยั่งยืนในโลกที่หนึ่งได้ในที่สุด
การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติเพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นประเทศในโลกที่หนึ่งได้นั้นจำเป็นต้องมีความพร้อมในทุกด้านแต่ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในสภาวการณ์ที่ไม่เป็นปกติและไม่มีความพร้อมที่จะก้าวไปสู่การเป็นประเทศในโลกที่หนึ่งดังที่คาดหวังไว้เนื่องจากยังคงประสบกับปัญหาที่สะสมเรื้อรังในหลายด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาความขัดแย้งรุนแรงปัญหาความเหลื่อมลํ้าของคนในสังคมและปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน
ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีภารกิจที่สำคัญในการขับเคลื่อนไปสู่การเป็นประเทศในโลกที่หนึ่งอยู่ 2 วาระ ได้แก่ 1. วาระการปฏิรูป (Reform Agenda) คือ การปฏิรูปประเทศในประเด็นปัญหาที่สะสมเรื้อรังมานาน เพื่อทำให้ประเทศกลับเข้าสู่สภาวะปกติ และ 2. วาระการปรับเปลี่ยน (Transformation Agenda) คือการปรับเปลี่ยนเพื่อเตรียมความพร้อมและเพิ่มขีดความสามารถของประเทศไทยในการพัฒนาเป็นประเทศในโลกที่หนึ่ง
วาระการปฏิรูปและวาระการปรับเปลี่ยนจะมีลักษณะงานที่แตกต่างกันกล่าวคือ “วาระการปฏิรูป” จะมีลักษณะงานเป็นการปรับเปลี่ยนเชิงโครงสร้าง ระบบ รวมถึงการปรับเปลี่ยนเชิงพฤติกรรม ซึ่งในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้มีการพิจารณาศึกษา วิเคราะห์และสังเคราะห์ จนได้ข้อเสนอวาระการปฏิรูปจำนวน 37 วาระด้วยกัน อาทิ ระบบงบประมาณ กระบวนการยุติธรรม การปฏิรูปที่ดิน การปรับโครงสร้างภาษี การจัดตั้งสมัชชาคุณธรรม เป็นต้น ส่วน “วาระการปรับเปลี่ยน” จะเป็นภารกิจใหม่ที่จะต้องดำเนินการ เพื่อตระเตรียมและเติมเต็มประเทศให้มีขีดความสามารถในการพัฒนาต่อไป เช่น กลไกการขับเคลื่อนประเทศชุดใหม่ การส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ ระบบบริหารจัดการ นํ้าการปรับเปลี่ยนสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิตอล และการบริหารจัดการฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เป็นต้น
ด้วยสถานการณ์ของประเทศไทยในปัจจุบันยังคงต้องเผชิญกับปัญหารุมเร้าหลายประการด้วยเหตุนี้ในระยะแรก จำเป็นต้องเน้นการขับเคลื่อนวาระการปฏิรูปเป็นสำคัญ โดยมีเป้าหมายให้ประเทศกลับคืนสู่สภาวะปกติ ซึ่งเมื่อปัญหาสำคัญหลายประการได้รับการแก้ไขจนประเทศกลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว จุดเน้นจะขยับไปสู่การขับเคลื่อนวาระการปรับเปลี่ยน เพื่อให้ประเทศมีขีดความสามารถเพียงพอต่อการพัฒนาเป็นประเทศในโลกที่หนึ่งต่อไป
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3083 วันที่ 30 สิงหาคม – 2 กันยายน พ.ศ. 2558
นโยบายประเทศไทย 4.0 เป็นอีกนโยบายหนึ่งที่เป็นการวางรากฐาน การพัฒนาประเทศในระยะยาว โดยมีเป้าหมายที่ผลักดันให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น และทำให้ประเทศหลุดพ้นจากการเป็นประเทศที่อยู่ในกับดักรายได้ปานกลางในที่สุด ที่ผ่านมาประเทศไทยยังขาดการวางแผนทางเศรษฐกิจในระยะยาว จะมีก็เพียงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเท่านั้น ขณะที่หลายประเทศมีการวางแผนเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยการวางแผนที่ออกมาต้องไม่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของประชาชนและส่วนรวมมากที่สุด - See more at: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/637748#sthash.VYfAB8ox.dpuf
คำถาม-ตอบ
1. Thailand 4.0 คืออะไร ?.
ตอบ คือ วิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศไทย หรือ โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล  ภายใต้การนำของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช) ที่เข้ามาบริหารประเทศ บนวิสัยทัศน์ที่ว่า "มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน" ที่มีภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนปฏิรูป ประเทศด้านต้างๆ เพื่อปรับแก้ จัดระบบ ปรับทิศทาง และสร้างหนทางพัฒนาประเทศให้เจริญ สามารถรับมือกับโอกาสและภัยคุกคามแบบใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็ว รุนแรงในศตวรรษที่ 21 ได้
2. โมเดลประเทศไทย 4.0 ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ ประกอบด้วย “กลไกการขับเคลื่อน” ชุดใหม่ (New Growth Engine) 3 กลไกสำคัญ คือ 1. กลไกขับเคลื่อนผ่านการสร้างและยกระดับผลิตภาพ (Productive Growth Engine) 2. กลไกขับเคลื่อนที่คนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง (Inclusive Growth Engine) และ 3. กลไกการขับเคลื่อนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (Green Growth Engine)
3. การมีสังคมที่อยู่ดีมีสุข และการเสริมสร้างภูมิปัญญามนุษย์ โดยการพัฒนาที่สมดุลตั้งอยู่บนฐานคิดของอะไร
ตอบ คือตั้งอยู่บนฐานคิดของ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”
4. เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ได้แก่อะไรบ้าง 
ตอบ 1.เปลี่ยนจากการผลักดันสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม
2.เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์
3 .เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้าไปสู่การเน้น ภาคบริการมากขึ้น
5. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับ Thailand 4.0 นี้บ้าง 
ตอบ คิดว่า โมเดลนี้คงจะสามารถพัฒนาประเทศให้เจรฺญได้ยิ่งขึ้นกว่าเดิม แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับประชาชนคนไทยทุกคนด้วยว่าจะให้ความร่วมมือมากน้อยแค่ไหนค่ะ


ขอขอบคุณเนื้อหาจาก
http://www.drborworn.com/articledetail.asp?id=16223
http://www.thansettakij.com/2016/04/30/48324
http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/637748
https://www.facebook.com/ETDA.Thailand/posts/1335382059808700:0

21 ความคิดเห็น:

  1. สวยยยยยยย จังเบยยยยยย

    ตอบลบ
  2. Wynn Palace - Mapyro
    Find Wynn Palace, Las 여수 출장안마 Vegas, NV, United States, ratings, photos, prices, 김천 출장안마 expert advice, 사천 출장마사지 traveler reviews and tips, and more 서귀포 출장마사지 information from Mapyro  Rating: 양산 출장샵 4 · ‎1,197 votes

    ตอบลบ